วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประวัติส่วนตัวของเรา

นางสาวกิตติยา  เจ้นลา  รหัสนิสิติ  52010119002
เป็นคนจังหวัดหนองบัวลำภู
เพื่อนเรียก  เบียรน้อย

นางสาวพิมลัดดา  บุญศรี  รหัสนิสิติ  52010119037
เป้นคนจังหวัดร้อยเอ็ด
เพื่อนเรียก  อ้อม


ลงพื้นที่.....ฮาๆๆ

เป็นการลงพื้นที่ครั้งเเรกที่ประทับใจมาก

ภาพกิจกรรมที่ผ่านมา









 

วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ความไม่เหมือนนำมาซึ่งการพัฒนาที่แตกต่าง

บทนำ
                เมื่อกล่าวถึงเพศ (Sex ) แน่นอนว่าหลายคนคงนึกถึงหญิงและชาย  ซึ่งนั้นหมายถึงลักษณะทางสรีระหรือชีวภาพแบ่งหญิงและชายออกจากกัน นอกเหนือจากสรีระแล้ววิธีคิดก็มีความแตกต่างกันด้วย ดังจะเห็นได้จากนิตยสาร ชื่อดังไทม์ ฉบับเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2549  กล่าวเน้นให้เห็นความเชื่อดังกล่าวข้างต้น ซึ่งก็กลายมาเป็นข้อจำกัดบางเรื่องของสาวๆและแม่บ้านทั้งหลาย ผู้เคยชินกับการที่ตัวเองมีความสามารถในการจัดการกับปัญหาต่างๆในบ้าน และหรือนอกบ้าน (ในที่ทำงาน)ได้อย่างละเมียดละไม เรียนรู้เรื่องภาษาได้อย่างรวดเร็ว มีทักษะด้านความจำที่เหนือกว่าหนุ่มๆหรือพ่อบ้านได้อย่างเป็นจินตภาพ แตกต่างจากหนุ่มๆหรือพ่อบ้านที่มักจะขาดทักษะในการแก้ปัญหาที่มีรายละเอียดมาก (หรือเมินในการจดจำเรื่องราวต่างๆ) แต่มีความถนัดในเรื่องวิศวะอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องยนต์กลไก เพราะมีพื้นฐานทักษะทางคณิตศาสตร์ การบวกลบคูณหารที่ดีกว่า นั่นเป็นเพราะว่าโครงสร้างทางสมองของเพศหญิงแตกต่างจากสมองของเพศชาย
ด้วยการแบ่งนี้ทำให้เพศเป็นตัวกำหนดบทบาทหน้าที่ ความเป็นตัวตน ทักษะและความสัมพันธ์ระหว่างหญิงและชาย ให้มีบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกัน  อาทิ เช่น  พัฒนาการของบทบาทของเด็กหญิงในสมัยใหม่ยิ่งซับซ้อนมากขึ้น ในด้านหนึ่งเด็กหญิงจะไปโรงเรียนเพื่อเตรียมตัวอยู่ในสังคมและวิทยาการที่ซับซ้อน แต่สิ่งที่ยังอยู่ในจิตไร้สำนึกของเด็กหญิงที่ได้รับการสอนจากแม่คือ ความเป็นผู้หญิง การรักสวย  รักงาม ความเป็นแม่บ้านแม่เรือน ผู้หญิงที่ดีคือเพศที่อ่อนแอ ที่สามารถใช้น้ำตาลบล้างความผิด
หรือความรู้สึกผิด
 นอกจากนั้นความเป็นเมียและเป็นแม่ยังพันธนาการผู้หญิงให้แสดงบทบาทเหล่านั้นซ้ำแล้วซ้ำอีก ในขณะที่การดำเนินชีวิตของเด็กชายก็ไม่ต่างกันคือการไปโรงเรียน เพื่อออกสู่สังคม แต่เด็กชายจะสามารถสร้างบทบาทของตัวเอง หรือสามารถกลายเป็นชายหนุ่มที่มีพื้นที่ของตัวเอง โดยที่ไม่ได้ผูกโยงหรือยึดติดกับบทบาทของความเป็นพ่อ หรือสามี  เหมือนที่ผู้หญิงถูกตรึงด้วยวัฒนธรรม
(ปรานี
  วงษ์เทศ. (2544) :72-73)
                โครงสร้างทางกายภาพที่ไม่เหมือนกันทำให้หญิงและชายมีความต้องการพัฒนาความสามารถของตนในการประกบอาชีพ ที่แตกต่างกัน เพื่อยกระดับความสามารถให้มีความเสมอภาค หรือเท่าเทียมกัน
     

คนจนยิ้มได้

บทความคนจนยิ้มได้
ปัจจุบันจำนวนประชากรของไทยเรามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น  การดำรงชีวิตที่เรียบง่ายก็เปลี่ยนไป  เกิดความขัดแย้งและการแย่งชิงทรัพยากรที่มีความจำกัดจนเกิดปัญหาสังคมตามมา  ในแต่ละปีมีการสูญเสียทรัพยากรมนุษย์เป็นจำนวนมากเพราะเกิดจากความประมาทในการดำรงชีวิต ไม่เว้นแต่มลพิษต่างๆที่เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์เอง สิ่งเหล่านี้ถือเป็นปัญหาใหญ่ของรัฐบาล เพราะถ้าประชาชนไม่ได้รับความปลอดภัยและการกินอิ่มนอนหลับ  นั้นก็ถือว่ารัฐบาลชุดนั้นทำงานไม่บรรลุวัตถุประสงค์เป้าหมาย เรื่องสุขภาพถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับความมั่นคงของประเทศ ถ้าประเทศใดที่ประชาชนมีสุขภาพจิตดี สุขภาพกายแข็งแรง มีประสิทธิภาพในการทำงาน งานที่ออกมามีคุณภาพดี เมื่องานมีคุณภาพประเทศชาติก็เจริญ
สุขภาพคนไทยในปัจจุบันจะถือว่าดีก็ไม่ใช่ เพราะคนที่อยู่ตามเมืองใหญ่ ที่มีโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ประสบกับปัญหาทางมลพิษต่างๆที่เกิดจากควันรถ ก็จะทำให้สุขภาพไม่ดีอีกด้วย รวมไปถึงสุขภาพแวดล้อม ความเป็นอยู่ของคนที่อยู่ในเมืองใหญ่ก็ไม่บริสุทธิ์เพราะมีแต่ฝุ่น ควันรถ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต การดำรงชีวิตในแต่ละวัน ก็เร่งรีบจนบางครั้งก็ไม่มีเวลาดูแลตัวเอง เร่งรีบกับการทำงาน หาเงิน เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง ก็ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในชนบทหรือพื้นที่ที่ห่างไกลความเจริญ ความเป็นอยู่ของพวกเขาก็จะมีความแตกต่างกับคนที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่มาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจสังคมสิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดวิถีชีวิตแตกต่างกัน พวกเขาจึงขาดโอกาสที่จะเข้าถึงทรัพยากรและบริการของรัฐที่จะช่วยเหลือ เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยปัญหาเรื่องการเดินทางที่ไม่สะดวก การที่จะเข้ามารักษาตัวก็ยุ่งยากและยังมีค่าใช้จ่ายที่สูง เมื่อมีสิ่งเหล่านี้เข้ามาขัดขวางก็เลยทำให้มีปัญหาเรื่องสุขภาพตามมา  ถึงลักษณะสังคมของคนที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่และชนบทที่ห่างไกลความเจริญ  แต่พวกเขาได้รับผลกระทบด้านสุขภาพเหมือนกัน

วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เรื่องที่เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน



ความหมายของชุมชน” (Community)
ชุมชนเป็นกลุ่มบุคคลที่อาศัยอยู่ตามท้องถิ่นต่าง ๆ   อาจเป็นหมู่บ้าน ละแวก หรือย่าน ที่มีวิถีชีวิตเกี่ยวพันกัน มีความเชื่อในระบบคุณค่าบางอย่างสอดคล้องกัน มีการติดต่อสื่อสาร มีความเอื้ออาทร มีการจัดการ มีการเรียนรู้และมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน   หรือกลุ่มบุคคลอันเนื่องมา จากการประกอบอาชีพร่วมกัน   หรือ การประกอบกิจกรรมร่วมกัน   หรือ การมีวัฒนธรรม   หรือ ความสนใจร่วมกัน
ความหมายของการพัฒนา” (Development)
 
การพัฒนาคือ การทำให้ดีขึ้น ให้เจริญขึ้น เป็นการเพิ่มคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ   การพัฒนาอาจพัฒนาจากสิ่งที่มีอยู่เดิม หรือ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ก็ได้

ความหมายของการพัฒนาชุมชน” (Community Development) 
การพัฒนาชุมชนเป็นการทำให้กลุ่มคนดีขึ้น เจริญขึ้น ในทุก ๆ ด้าน เช่น ด้านเศรษฐกิจ สังคม การปกครอง วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม เป็นต้น
ความสำคัญของการพัฒนาชุมชน

เป้าหมายของการพัฒนาชุมชน คือคน ซึ่งเป็นกลุ่มอันหลากหลาย กระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศ   เป็นหมู่บ้าน เป็นชุมชนเมือง เป้นกลุ่มอาชีพ เป็นกลุ่มกิจกรรม ฯลฯ   กลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้เป็นรากฐานสำคัญของประเทศ   เราเห็นพ้องกันว่าการพัฒนาคน เป็นแนวทางการพัฒนาประเทศที่ถูกต้อง   การพัฒนาคนจึงเป็นเป้าหมายของ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๔๐๒๕๔๔) และต่อใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙(พ.ศ. ๒๕๔๕๒๕๔๙)   รากฐานของประเทศดีขึ้น เจริญขึ้นในทุก ๆ ด้าน   ประเทศชาติก็ดีขึ้น เจริญขึ้น เป็นสังคมพัฒนา   สังคมพัฒนาดี สมาชิกในสังคมย่อมได้รับผลพวงของการพัฒนา ทุกอย่างมันเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน   การเล็งเป้าการพัฒนาไปที่คน ก็คือการเล็งเป้าไปที่ชุมชน จึงเป็นภารกิจของทุกคนที่เกี่ยวข้อง ที่จะต้องร่วมมือกันพัฒนาอย่างจริงจัง รวมทั้งต้องพัฒนาคนเองด้วย เหมือนตนเองเป็นชุมชนหนึ่ง   องค์กรทั้งหลายก็ต้องพัฒนาตนเองเช่นเดียวกัน เพราะองค์กรก็มีความเป็นชุมชนด้วย   ถ้าเราจินตนาการว่าคนเหมือนเซล (cell) ของประเทศ (ร่างกาย)   เซลทุกเซลได้รับการเอาใจใส่ดูแลให้ดี ทำให้พัฒนา   ประเทศชาติหรือสังคมไทยเราจะเป็นอย่างไร ลองจินตนาการต่อไป   เพราะฉะนั้น เป้าหมายของประเทศ หรือสังคม จึงต้องพัฒนาคนหรือชุมชน