วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

คนจนยิ้มได้

บทความคนจนยิ้มได้
ปัจจุบันจำนวนประชากรของไทยเรามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น  การดำรงชีวิตที่เรียบง่ายก็เปลี่ยนไป  เกิดความขัดแย้งและการแย่งชิงทรัพยากรที่มีความจำกัดจนเกิดปัญหาสังคมตามมา  ในแต่ละปีมีการสูญเสียทรัพยากรมนุษย์เป็นจำนวนมากเพราะเกิดจากความประมาทในการดำรงชีวิต ไม่เว้นแต่มลพิษต่างๆที่เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์เอง สิ่งเหล่านี้ถือเป็นปัญหาใหญ่ของรัฐบาล เพราะถ้าประชาชนไม่ได้รับความปลอดภัยและการกินอิ่มนอนหลับ  นั้นก็ถือว่ารัฐบาลชุดนั้นทำงานไม่บรรลุวัตถุประสงค์เป้าหมาย เรื่องสุขภาพถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับความมั่นคงของประเทศ ถ้าประเทศใดที่ประชาชนมีสุขภาพจิตดี สุขภาพกายแข็งแรง มีประสิทธิภาพในการทำงาน งานที่ออกมามีคุณภาพดี เมื่องานมีคุณภาพประเทศชาติก็เจริญ
สุขภาพคนไทยในปัจจุบันจะถือว่าดีก็ไม่ใช่ เพราะคนที่อยู่ตามเมืองใหญ่ ที่มีโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ประสบกับปัญหาทางมลพิษต่างๆที่เกิดจากควันรถ ก็จะทำให้สุขภาพไม่ดีอีกด้วย รวมไปถึงสุขภาพแวดล้อม ความเป็นอยู่ของคนที่อยู่ในเมืองใหญ่ก็ไม่บริสุทธิ์เพราะมีแต่ฝุ่น ควันรถ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต การดำรงชีวิตในแต่ละวัน ก็เร่งรีบจนบางครั้งก็ไม่มีเวลาดูแลตัวเอง เร่งรีบกับการทำงาน หาเงิน เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง ก็ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในชนบทหรือพื้นที่ที่ห่างไกลความเจริญ ความเป็นอยู่ของพวกเขาก็จะมีความแตกต่างกับคนที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่มาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจสังคมสิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดวิถีชีวิตแตกต่างกัน พวกเขาจึงขาดโอกาสที่จะเข้าถึงทรัพยากรและบริการของรัฐที่จะช่วยเหลือ เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยปัญหาเรื่องการเดินทางที่ไม่สะดวก การที่จะเข้ามารักษาตัวก็ยุ่งยากและยังมีค่าใช้จ่ายที่สูง เมื่อมีสิ่งเหล่านี้เข้ามาขัดขวางก็เลยทำให้มีปัญหาเรื่องสุขภาพตามมา  ถึงลักษณะสังคมของคนที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่และชนบทที่ห่างไกลความเจริญ  แต่พวกเขาได้รับผลกระทบด้านสุขภาพเหมือนกัน
                ด้วยเหตุนี้เองรัฐบาลจึงมีนโยบายด้านสุขภาพออกมามากมาย เพื่อทำการที่จะทำให้ประชาชนมีสุขภาพดี นโยบายที่ว่าคือ ประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค) จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ พ.บ.
รองศาสตราจารย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลาจุฬาลงกรณ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวว่า
การสร้างหลักประกันสุขภาพสำหรับคนไทย ยังคงเป็นความท้าทาย โดยหลักการแล้ว คำถามที่สำคัญ คือ เราจะปล่อยให้คนไทยส่วนหนึ่งถูกเรียกว่า "อนาถา" หรือไม่เมื่อ เจ็บป่วย เราจะปล่อยให้สังคม ตีตราบุคคลเหล่านั้นเป็นคนอีกชนชั้นหนึ่ง หรือเป็นกลุ่มที่ต่ำต้อยกว่าได้แต่รอคอยความช่วยเหลือจากผู้อื่น เสมือนเป็นขอทานอันเนื่องจากภาวะความเจ็บป่วยไม่สบายหรือไม่. ถ้าเราเห็นตรงกันว่า "ไม่" และ คนไทยควรเป็นผู้ที่สามารถยืนหยัดอย่างมีศักดิ์ศรีในตนเองหรือด้วยศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างภาคภูมิ แม้ในยามที่ป่วยไข้หรือเจ็บป่วยจนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ นั่นคือหลักประกันสุขภาพ. ทั้งนี้เพราะไม่เพียงแต่ผู้ยากไร้เท่านั้น กลุ่มผู้ที่มีอันจะกินเมื่อเจ็บป่วยและต้องได้รับการตรวจรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูง ก็อาจต้องกู้หนี้ยืมสินจนหมดกำลังจ่ายและกลายสภาพเป็น "ผู้ป่วยอนาถา" ได้โดยไม่ยาก.
การที่รัฐให้สิทธิแก่ประชาชนคนไทยในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข หรือสร้างหลักประกันสุขภาพแก่ประชาชน จึงเป็นเสมือนการที่รัฐให้หลักประกันในความเสมอภาคสำหรับความเป็นมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรีที่เท่าเทียมกันสำหรับคนไทยทุกคนในประเทศ หลักประกันสุขภาพจึงเป็นของคนไทยทุกคนเป็นสิทธิที่ พึงมีพึงได้ตามรัฐธรรมนูญ และไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง หรือพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งที่จะให้หรือไม่ให้ หรือจะยกเลิกได้ตามอำเภอใจ. ดังนั้นโดยหลักการเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสำหรับคนไทย คงจะไม่มีใครทำให้ถอยหลังกลับไป สู่ระบบ "ผู้ป่วยอนาถา" แบบเดิม.
ในปัจจุบัน เราจะสังเกตได้ว่ามีความพยายาม และการผลักดันในระดับนโยบายและการจัดการระบบในการพัฒนาหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าต่อไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีอย่างต่อเนื่อง ได้มีคำสั่งให้เลิกเก็บการจ่ายร่วมของผู้ใช้บริการ 30 บาทไปแล้ว (โดยไม่ปรากฏเหตุผลทางวิชาการสนับสนุนที่แน่ชัด ทำให้ปัจจุบันกลายเป็น "อดีต 30 บาทรักษาทุกโรค"). ทั้งนี้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาจัดทำข้อเสนอเพื่อพัฒนาหลักประกันสุขภาพด้านการเงินการคลัง มีการเสนอให้ปรับเพิ่มงบประมาณรายหัวในปีงบประมาณ 2550 ขึ้น และได้รับอนุมัติที่ 1
,899 บาทต่อคนต่อปี แม้ว่าจะได้น้อยกว่าที่ขอไปที่ระดับ 2,089 บาทแต่ก็นับว่ามากกว่างบประมาณเดิมที่ 1,659 บาทต่อคนต่อปี. นอกจากนี้กำลังทบทวนกลไกการจ่ายเงินทั้งในกรณีการรักษาโรคราคาแพง บริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และการพัฒนาข้อเสนอเกี่ยวกับระบบรายงานบัญชีต้นทุนของหน่วยบริการ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องมากขึ้น และในส่วนของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำลังมีการพัฒนาระบบการบริหารจัดการอีกหลายๆ ด้านเช่นกัน เช่น ระบบ disease management ที่ได้เริ่มต้นไว้กับโรคมะเร็งเม็ดโลหิต เป็นต้น.
ในขณะเดียวกันระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการซึ่งได้มีการพัฒนาระบบการเบิกจ่ายตรงของโรงพยาบาลเพื่อลดภาระการจ่ายเงินไปก่อนของข้าราชการซึ่งต้องให้ข้าราชการไปลงทะเบียนที่โรงพยาบาลล่วงหน้า และได้มีการประกาศใช้บัญชีราคากลางใหม่ทั้งระบบเพื่อการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล โดยเฉพาะระบบบัญชียา ซึ่งมีการกำกับควบคุมที่เข้มงวดมากขึ้น พร้อมด้วยแนวโน้มที่จะ นำกลไกการจ่ายเงินแบบปลายปิดที่อ้างอิงกับกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม หรือ
Diagnosis-related group (DRG) มาใช้เร็วๆ นี้. ส่วนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ในระบบประกันสังคมคงเป็นเรื่องการปรับสิทธิและการจ่ายเงินกรณีการคลอดและทันตกรรม ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังมาตั้งแต่รัฐบาลก่อน และกำลังพิจารณาการปรับเงินเหมาจ่ายรายหัวค่ารักษาพยาบาลแก่ โรงพยาบาล นอกจากนี้กำลังอยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยนโครงสร้างคณะกรรมการชุดต่างๆ ในการบริหารระบบด้วย.
หลังจากที่ได้มีนักวิชาการหลายท่านได้ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องประกันสุขภาพถ้วนแล้ว  ทุกท่านต่างเห็นด้วยกับนโยบายนี้พร้อมที่จะสนับสนุนเต็มที่เพราะเป็นการช่วยเหลือประชาชนหลังจากที่มีนโยบานแล้วก็มาดูกันว่าประชาชนเข้าใช้มากน้อยเพียงใด
                จากการที่รัฐได้ออกนโยบายด้านสุขภาพมานั้น จะแสดงให้เห็นถึงการใช้บริการในเรื่องสุขภาพของประชาชนได้จากกราฟ
จากกราฟจะเห็นได้ว่าประชาชนแต่ละภูมิภาครวมไปถึงกรุงเทพมหานครเข้าถึงการบริการของรัฐ ครอบคลุมทุกภาค จากกราฟยังชี้ให้เห็นอีกว่าประชาชนภาคเหนือและภาคอีสานเข้าใช้บริการบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้ามากที่สุด นโยบายของรัฐในครั้งนี้ถือเป็นการช่วยเหลือประชาชนที่ยากจนให้ได้รับสิทธิเท่าเทียมในเรื่องการรักษาพยาบาลอีกด้วย คนในกรุงเทพมหานครการเข้าร่วมบริการบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้ากับคนที่ไม่เข้าร่วมรับบริการบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าจำนวนใกล้เคียงกันมาก ชี้ให้เห็นว่าเขาไม่ให้ความสนใจในเรื่องนี้เพราะคิดว่าไม่แตกต่างจากการรักษาแบบเดิมเท่าไร ส่วนประชาชนในภาคอีสานกราฟของคนเข้ารับบริการบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีจำนวนมากกว่าคนที่ไม่เข้ารับบริการบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า นั้นชี้ให้เห็นว่าฐานะทางด้านการเงินของเราไม่ดีพอ การให้บริการที่ถูกและมีประสิทธิภาพดี ประชาชนให้ความสนใจมากในการเข้าร่วมรับการบริการ
ประชาชนแต่ละคนมีอาชีพที่แตกต่างกันไปไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ พ่อค้าแม่ค้า รับจ้างทั่วไป และอาชีพอื่นๆอีกมากมาย อาชีพแต่ละอาชีพล้วนแต่มีความเสี่ยงที่แตกต่างกัน แต่ละคนอาจจะมีการทำประกันให้กับตัวเอง จะเห็นได้ว่านโยบายบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าของรัฐบาลในการเข้าถึงการบริการของประชาชนที่มีอาชีพแตกต่างกันจะเห็นได้จากกราฟ

จากกราฟจะเห็นว่าประชาชนทั่วไปจะเข้ารับบริการบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นจำนวนมากหรือเกือบทั่งหมดเพราะข้าราชการจะมีสิทธิในการเบิกจ่ายตรงอยู่แล้ว ที่น้อยที่สุดในเรื่องของการเข้ารับบริการบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าก็จะเป็นจังหวัดกรุงเทพมหานคร ไม่ใช่ว่าเป็นกลุ่มที่มีสุขภาพที่ดีที่สุดแต่ส่วนมากเขาอาจจะไม่มีเวลาเข้ารับบริการหรืออาจจะเข้ารับบริการของทางเอกชนที่มีความสะดวก รวดเร็วกว่าการให้บริการของทางภาครัฐ ไม่ใช่ว่านโยบายของรัฐไม่ดีแต่บางครั้งเวลาเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับคนกรุงเทพฯ ในแต่ละนาทีมีค่ามาก เขาเลยต้องการเขารับบริการที่สะดวกและ รวดเร็ว จากการที่ประชาชนได้เข้ารับบริการบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า จะเห็นได้ว่าเป็นนโยบายที่เอื้อต่อคนยากจนมาก เพราะการเจ็บไข้ของประชาชนที่ไม่มีเงิน ถึงเป็นเรื่องใหญ่เพราะไม่สบายก็ต้องมีการไปยืมตัง เพื่อมาใช้ในการรักษาพยาบาลเป็นหนี้เข้าไปอีก ปัญหาเหล่านี้ก็ลดลง รัฐบาลได้เข้ามาได้เข้ามาทำนโยบาลบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าแน่นอนต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เพระามีคนเข้ามารับบริการ ทั่วประเทศมีจำนวนมาก จากข้อมูลที่จะแสดงให้เห็นต่อไปนี้
จากกราฟแสดงให้เห็นว่างบประมาณที่รัฐนำมาสนับสนุน ในโครงการ บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30บาทรักษาทุกโรค) ไม่เพียงพอต่อจำนวนคน ที่เข้ามาร่วมใช้บริการ จะถือว่าขาดมากก็ไม่ใช่ในจุดนี้ก็ต้องมีการแก้ไขปัญหาต่อไป
ในอนาคตข้างหน้าต้องเดินหน้าแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชนอย่างต่อเนื่องต่อไป ก็จะทำให้ประชาชนมีสุขภาพดี ปัญหาสังคมก็จะลดลง ในฐานะที่เป็นประชาชนรู้สึกว่านโยบาลของรัฐเป็นนโยบายที่ดีเพราะครอบคลุมปัญหาที่เกิดขึ้นถ้าแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นให้ตรงจุดปัญหาก็จะหายไป เรื่องของบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าก็อย่างให้รัฐบาลติดตาม ว่าคนที่ยังไม่มีบัตรมีมากน้อยเพียงใดและเร่งเข้าไปทำบัตรให้เสร็จ เรื่องของความรวดเร็วในการเข้ารับรักษาพยาบาลบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าถือว่ายังช้าและอยากให้แก้ปัญหาตรงนี้ก็จะดูเหมือนเป็นการแบ่งชนชั้น ภาพรวมคือนโยบายที่สามารถให้ประชาชนผู้ด้อยโอกาสหรือประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงบริการของรัฐได้อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง
เมื่อเรามีสุขภาพที่ดีสิ่งที่ดีก็จะตามมาในการบริหารและพัฒนาประเทศ เราจะต้องมองถึงความสำคัญตรงนี้เพราะเรื่องของสุขภาพ เรื่องความเป็นอยู่เป็นเรื่องที่มาด้วยกัน ปัจจัย 4 เป็นสิ่งสำคัญสำหรับมนุษย์ ถ้าเราสามารถบริหารจัดการตรงนี้ได้อย่างดีพัฒนาทุกๆด้านไปพร้อมกันโดยไม่พัฒนาด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว ความมั่นคงก็จะเกิดในประเทศของเรา ในงานพัฒนาชุมชนก็เหมือนกัน เราต้องไม่มองข้ามจุดเล็กๆตรงนี้ ก็เหมือนการใช้น้ำมันในการขับเคลื่อนรถ ถ้าไม่มีน้ำมันรถก็ไม่มีประโยชน์ ทุกสิ่งอย่างต้องมีความสำพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างลงตัว

ข่าว  !!   ประเด็นสุขภาพที่น่าสนใจ




                                                                                                 พิมลัดดา  บุญศรี  52010119037
                                                                                                           โทร  08000129349
เอกสารอ้างอิง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น