วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ความไม่เหมือนนำมาซึ่งการพัฒนาที่แตกต่าง

บทนำ
                เมื่อกล่าวถึงเพศ (Sex ) แน่นอนว่าหลายคนคงนึกถึงหญิงและชาย  ซึ่งนั้นหมายถึงลักษณะทางสรีระหรือชีวภาพแบ่งหญิงและชายออกจากกัน นอกเหนือจากสรีระแล้ววิธีคิดก็มีความแตกต่างกันด้วย ดังจะเห็นได้จากนิตยสาร ชื่อดังไทม์ ฉบับเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2549  กล่าวเน้นให้เห็นความเชื่อดังกล่าวข้างต้น ซึ่งก็กลายมาเป็นข้อจำกัดบางเรื่องของสาวๆและแม่บ้านทั้งหลาย ผู้เคยชินกับการที่ตัวเองมีความสามารถในการจัดการกับปัญหาต่างๆในบ้าน และหรือนอกบ้าน (ในที่ทำงาน)ได้อย่างละเมียดละไม เรียนรู้เรื่องภาษาได้อย่างรวดเร็ว มีทักษะด้านความจำที่เหนือกว่าหนุ่มๆหรือพ่อบ้านได้อย่างเป็นจินตภาพ แตกต่างจากหนุ่มๆหรือพ่อบ้านที่มักจะขาดทักษะในการแก้ปัญหาที่มีรายละเอียดมาก (หรือเมินในการจดจำเรื่องราวต่างๆ) แต่มีความถนัดในเรื่องวิศวะอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องยนต์กลไก เพราะมีพื้นฐานทักษะทางคณิตศาสตร์ การบวกลบคูณหารที่ดีกว่า นั่นเป็นเพราะว่าโครงสร้างทางสมองของเพศหญิงแตกต่างจากสมองของเพศชาย
ด้วยการแบ่งนี้ทำให้เพศเป็นตัวกำหนดบทบาทหน้าที่ ความเป็นตัวตน ทักษะและความสัมพันธ์ระหว่างหญิงและชาย ให้มีบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกัน  อาทิ เช่น  พัฒนาการของบทบาทของเด็กหญิงในสมัยใหม่ยิ่งซับซ้อนมากขึ้น ในด้านหนึ่งเด็กหญิงจะไปโรงเรียนเพื่อเตรียมตัวอยู่ในสังคมและวิทยาการที่ซับซ้อน แต่สิ่งที่ยังอยู่ในจิตไร้สำนึกของเด็กหญิงที่ได้รับการสอนจากแม่คือ ความเป็นผู้หญิง การรักสวย  รักงาม ความเป็นแม่บ้านแม่เรือน ผู้หญิงที่ดีคือเพศที่อ่อนแอ ที่สามารถใช้น้ำตาลบล้างความผิด
หรือความรู้สึกผิด
 นอกจากนั้นความเป็นเมียและเป็นแม่ยังพันธนาการผู้หญิงให้แสดงบทบาทเหล่านั้นซ้ำแล้วซ้ำอีก ในขณะที่การดำเนินชีวิตของเด็กชายก็ไม่ต่างกันคือการไปโรงเรียน เพื่อออกสู่สังคม แต่เด็กชายจะสามารถสร้างบทบาทของตัวเอง หรือสามารถกลายเป็นชายหนุ่มที่มีพื้นที่ของตัวเอง โดยที่ไม่ได้ผูกโยงหรือยึดติดกับบทบาทของความเป็นพ่อ หรือสามี  เหมือนที่ผู้หญิงถูกตรึงด้วยวัฒนธรรม
(ปรานี
  วงษ์เทศ. (2544) :72-73)
                โครงสร้างทางกายภาพที่ไม่เหมือนกันทำให้หญิงและชายมีความต้องการพัฒนาความสามารถของตนในการประกบอาชีพ ที่แตกต่างกัน เพื่อยกระดับความสามารถให้มีความเสมอภาค หรือเท่าเทียมกัน
     

หลักสูตรที่ต้องการพัฒนาในหญิงและชาย
        หลักสูตรที่ต้องการพัฒนาระว่างหญิงและชาย มีทั้งหมด 4 หมวด แต่ละหมวดสามารถแยกย่อยได้ดังนี้
                1.หมวดอุตสาหกรรม
                                ชาย         13
,681   คน
                                -  ช่างเชื่อมและโลหะแผ่น
                                -  ช่างไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
                                -  ช่างยนต์และการบำรุงรักษา
                                -  ช่างก่อสร้าง
2.หมวดคหกรรม
             หญิง          18
,435   คน                                          ชาย         41           คน
            -  อาหารและโภชนาการ                                   -  ตัดเย็บเสื้อผ้า
            -  เสริมสวย
            -  ตัดเย็บเสื้อผ้า
            -  อื่นๆ
3.หมวดศิลปหัตถกรรม
                หญิง       2
,475     คน
                -  สิ่งทอและลายประดิษฐ์
              -  การประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์
4.หมวดเกษตรกรรมและการเลี้ยงสัตว์
              หญิง    7
,008     คน                                          ชาย         10,102   คน
              -  การเพาะปลูกและขยายพันธุ์พืช                               -  การเพาะปลูกและขยายพันธุ์พืช 
             -  ประมง
, เพาะเลี้ยง                                        -  ประมง, เพาะเลี้ยง
            -  การเลี้ยงสัตว์และการขยายพันธุ์                  -  การเลี้ยงสัตว์และการขยายพันธุ์
                                                                                  -  การจัดสวน
, พืชประดับ
                                                                                  -  การทำปุ๋ยธรรมชาติ

             ดังที่กล่าวมาข้างต้น ว่าหญิงและชายมีความแตกต่างกันทางสรีระและความคิด จึงทำให้มี
ความต้องการพัฒนาอาชีพที่แตกต่างกัน จะเห็นได้ใน
ผู้ชายต้องการพัฒนางานในด้านอุตสาหกรรมมากที่สุด รองลงมา คือเกษตรกรรมและการเลี้ยงสัตว์ แสดงว่าผู้ชายมีทักษะ ความรู้ ความสามารถ และความอดทนต่อการทำงานที่ใช้แรงงาน
ในขณะเดียวกันผู้หญิงเองมีความละเมียดละไม และใกล้ชิดกับธรรมชาติมากกว่า จึงมีความสนใจในด้านอาหาร งานฝีมือ อย่างหมวดคหกรรม และศิลปหัตถกรรม
             ดังนั้น  ความเท่าเทียมเสมอภาคกัน จึงไม่สามารถวัดได้จากการทำได้ หรือทำไม่ได้ในอาชีพแต่ละอาชีพ  เนื่องจากบุคคลมีความถนัด และความสามารถที่แตกต่างกัน
ความต้องการพัฒนาอาชีพในแต่ละภูมิภาค
             ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา และการนำไปใช้อย่างรู้คุณค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด  แต่ละภูมิภาคมีความหลากหลายทางภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ  จึงทำให้มีการนำทรัพยากรมาใช้ในการประกอบอาชีพที่แตกต่างกัน
จากกราฟในแต่ละภูมิภาค มีความต้องการพัฒนาอาชีพแตกต่างกันไป อาทิ เช่น
ประชากรในภาคกลาง มีความต้องการพัฒนาด้านเกษตรกรรมและการเลี้ยงสัตว์ จำนวน 1
,872 คน
และด้านอุตสาหกรรม จำนวน 103 คน โดยไม่ต้องการพัฒนาด้านศิลปหัตถกรรมและคหกรรม
  ประชากรในภาคเหนือ มีความต้องการพัฒนาด้านคหกรรม จำนวน 2
,463 คน ด้านเกษตรกรรมและการเลี้ยงสัตว์ จำนวน 922 คน  ด้านศิลปหัตถกรรม จำนวน 608  และด้านอุตสาหกรรม จำนวน 106 คน คน  ประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความต้องการพัฒนาในทุกๆ ด้านคหกรรม 15,241  เกษตรกรรม 14,317  อุตสาหกรม 11,978  และศิลปหัตถกรรม 1,867 คน ตามลำดับ  ประชากรในภาคใต้ มีความต้องการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม จำนวน 1,494 คน และคหกรรม จำนวน 772 คน โดยไม่ต้องการพัฒนาด้านเกษตรกรรมฯและศิลปหัตถกรรม
ข้อมูลข้างต้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความต้องการพัฒนาอาชีพมากที่สุด แสดงว่าเป็นภูมิภาคที่มีความอุดมสมบูรณ์ พูนสุข  จึงเหมาะแก่การพัฒนาในด้านต่างๆ เป็นอย่างดี เมื่อมีการพัฒนาจะสามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชน  ลดปัญหาการว่างงาน รวมถึงลดการอพยพถิ่นฐานหรือการเร่ร่อนทำงานต่างถิ่น


ความเสมอภาคของหญิงและชาย
ในอดีตจะไม่ค่อยเสมอภาคกันระหว่างหญิงกับชาย อย่างการยกย่องให้ผู้ชายเป็นช้างเท้า
หน้า ผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง ก็แสดงถึงความไม่เสมอภาค เพราะแต่ก่อนนั้นผู้ชายมักจะหาเลี้ยงครอบครัว ผู้หญิงมักจะเป็นแม่บ้าน ดูแลบ้านเรือนและบุตร ผู้ชายจึงมีอำนาจเหนือกว่าตามสถานภาพ  ในปัจจุบันผู้หญิงมีบทบาทต่าง ๆ ที่ผู้ชายเคยมีบทบาท เช่น ในวงการเมือง รวมถึงการประกอบอาชีพ(ทำงานนอกบ้าน) ทั้งแรงงาน ทักษะ ความสามารถ ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้บทบาทของผู้หญิงมีมากขึ้น ถ้าดูโดยภาพรวมแล้ว
จะเท่าเทียมกับผู้ชาย ดัง
จากแผนภูมิจะเห็นได้ว่าผู้หญิงมีความต้องการพัฒนาความสามารถในการประกอบอาชีพมากขึ้น เพื่อต้องการให้ได้รับการยกย่องและมีความเสมอภาคเท่าเทียม กับผู้ชายตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงของโลก


สรุป
                วิวัฒนาการของระบบโลกที่เปลี่ยนแปลง นับได้ว่าผู้หญิงมีความเสมอภาคกับผู้ชายมากกว่าอดีตเป็นอย่างมากทำให้ชายและหญิงมีสิทธิและหน้าที่เหมือนกัน และทุกคนมีโอกาสในสังคมเท่ากัน ไม่ว่าจะเป็นเพศใดย่อมสามารถเลือกประกอบอาชีพ หรือกระทำสิ่งใดได้ตามความต้องการของตนเสมอ แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎ ระเบียบของสังคมและกฎหมาย
ข้อเสนอแนะ
                1.คนในสังคมควรยอมรับและยกย่องให้หญิงมีความเท่าเทียมกับชายอย่างจริงจัง ตามแนวทางของกฎหมาย
                2.ลด ละ เลิกการแบ่งขีดความสามารถระหว่างหญิงและชาย  จะทำให้สังคมสงบสุข
3.ทุกคนมีความรู้ ความสามารถแตกต่างกันไป ตามแต่ประสบการณ์ จึงอยากให้ต่อสู้อย่าย่อท้อต่อคำติฉันของคน จะทำให้สามารถอยู่กับปัจจุบันได้อย่างกล้าหาญและชาญฉลาด
                                                                                                    น.ส.กิตติยา เจ้นลา รหัสนิสิต 52010119002
ที่มา
              1. การสำรวจความต้องการพัฒนาขีดความสามารถของประชากร พ.ศ.2552 สำนักงานสถิติแห่งชาติ     กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
                2.  บทความ ความเสมอภาคทางเพศ  จากhttp://www.google.co.th/search?hl=th&q=%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A8+&btnG=%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B2&aq=f&aqi=&aql=&oq=&gs_rfai=
3.ความเป็นเพศหญิงและเพศชาย จากhttp://gotoknow.org/blog/sociologysite/357826

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น